วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

งานช่างไม้

งานช่างไม้

งานช่างไม้
งานไม้เป็นงานช่างที่ใช้ฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ ต้องมีความอดทน ขยัน มีความรับผิดชอบสูง สามารถนำทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นไม้มาประดิษฐ์เป็นของเล่นของใช้ได้อย่างเหมาะสม ทั้งที่จะต้องมีทักษะในการใช้เครื่องมือและกระบวนการในการใช้ จึงจะสามารถทำงาน ไม้ได้อย่างสวยงาม เรียบร้อย มีประสิทธิภาพในการใช้เครื่องมือและใช้วัสดุ ปัจจุบันไม้มีคุณค่ามาก หายาก เพราะป่าไม้ถูกทำลายไปเกือบหมด จนต้องใช้วัสดุอื่น ๆ มาทดแทนไม้ เช่น พลาสติก โลหะ งานช่างไม้ในงานช่างพื้นฐานเป็นงานช่างไม้เบื้องต้น สามารถปฏิบัติได้ทั้งชายและหญิง เช่น การรู้จักเครื่องมือเครื่องใช้ วิธีการใช้วัสดุ และการเก็บรักษา การซ่อมบำรุงสิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น เฟอร์นิเจอร์ ส่วนประกอบของอาคารบ้านเรือน เป็นต้น
ความสำคัญของงานช่างไม้
ความสำคัญของงานช่างไม้ มีความสอดคล้องกับความสำคัญของไม้ที่ใช้ในงานก่อสร้าง เนื่องจากไม้ เป็นวัสดุก่อสร้างที่หาได้ยาก และมีราคางานไม้ที่แพงกว่าวัสดุทดแทนประเภทอื่น แต่ถึงกระนั้น ไม้ยังคงเป็นที่ต้องการในงานประเภท เช่น วงกบไม้ ประตูไม้ หน้าต่างไม้ เฟอร์นิเจอร์ไม้ งานแกะสลักไม้ และผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับการตกแต่งบ้าน ช่างไม้มืออาชีพจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน ช่างไม้ที่ดีต้องมีทักษะและความชำนาญงานในหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบได้เป็นอย่างดี มีใจรักในหน้าที่ มีความคิดสร้างสรรงานไม้ให้ออกมาสวยงาม มีเอกลักษณ์ อีกทั้งยังต้องมีความรับผิดชอบสูง สามารถใช้งานไม้ได้อย่างเหมาะสม โดยสามารถแบ่งประเภทของงานช่างไม้ออกเป็น 4 ประเภทคือ งานช่างไม้ก่อสร้าง งานช่างไม้ครุภัณฑ์ งานช่างไม้ออกแบบ และงานช่างไม้แกะสลัก
ประเภทของงานช่างไม้
งานของช่างไม้งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก คื อ
     1. งานช่างไม้ก่อสร้าง โดยงานช่างไม้ก่อสร้างนั้น จะเป็นงานที่เกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ต้องอาศัยความอดทน และความแข็งแรงของร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะต้องปฎิบัติหน้าที่กลางแจ้ง หรือในที่สูง มีโอกาสเสี่ยงต่อแสงแดด ฝุ่นละออง ฝนตก หรือการพลักตกจากที่สูงได้ จึงต้องมีความเป็นมืออาชีพ และมีทักษะในการทำงานเป็นอย่างมาก
      2. งานช่างไม้ครุภัณฑ์ สำหรับงานช่างไม้ครุภัณฑ์ จะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเครื่องเรือนต่างๆ เฟอร์นิเจอร์ไม้ อุปกรณ์ช่างไม้ เครื่องมือช่างไม้ ชุดตกแต่งบ้านที่ทำจากไม้ และผลิตภัณฑ์จากไม้ทั้งหมด ผู้ที่ประกอบอาชีพช่างไม้นี้ควรเป็นบุคคลที่มีความละเอียด รอบคอบ มีความปราณีต แต่ไม่มีความเสี่ยงในการปฎิบัติงานเนื่องจากทำหน้าที่ภายในโรงงานไม้ ที่มีเครื่องจักร เครื่องมือเพียบพร้อม
      3. งานช่างไม้ออกแบบ สำหรับงานช่างไม้ออกแบบ จะเป็นงานที่เกี่ยวกับการทำแบบงานไม้ แบบหล่อโลหะ เช่น ชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ เป็นต้น ช่างไม้ออกแบบควรมีความละเอียดปราณีต สร้างไม้แบบโดยไม่ผิดเพี้ยน และมีเทคนิคในการใช้เครื่องมือได้อย่างชำนาญ
      4. งานช่างไม้แกะสลัก สำหรับงานช่างไม้แกะสลัก จะเป็นงานที่เกี่ยวกับการออกแบบ ตกแต่ง สร้างสรรค์ แกะสลักไม้ลวดลายต่างๆ ลงบนผลิตภัณฑ์ไม้
ประโยชน์ของงานช่างไม้ที่น่ารู้
ประโยชน์ของงานช่างไม้ มีทั้งต่อตนเอง และต่อผู้อื่น เพราะช่างไม้สามารถใช้งานเครื่องมือเกี่ยวกับงานไม้ได้อย่างชำนาญงาน และปลอดภัย ช่างไม้ยังช่วยในเรื่องของการซ่อมแซมดูแลรักษางานไม้ มีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพสามารถนำไปประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว พร้อมทั้งยังสร้างลักษณะนิสัยที่ดีให้กับตัวเองมีความรับผิดชอบด้วย สำหรับครอบครัว ก็สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ช่วยประหยัดรายจ่าย เนื่องจากสามารถซื้อหางานไม้ในราคางานไม้ที่ถูกกว่าบุคคลทั่วไป รู้จักบำรุงรักษาของใช้ภายในบ้าน ทำให้เกิดช่างไม้มืออาชีพที่มีฝีมือคุณภาพสูง เกิดการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างมีประโยชน์สูงสุด ช่างไม้ยังมีเทคนิคการใช้งานเครื่องมือที่ถูกต้องตามหลักการ มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งแปลกใหม่ ไอเดียการออกแบบผลงานผลิตภัณฑ์จากไม้ มีการสร้างสรรงานไม้แบบมืออาชีพ และบ่งชี้ให้สังคมเห็นคุณค่าของงานช่างไม้มากขึ้นอีกด้วย
เครื่องมือช่างพื้นฐาน
เครื่องมือที่ใช้ในงานช่างมีอยู่มากมายหลายชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะการใช้งาน ที่แตกต่างกันตามลักษณะงานของแต่ละประเภท เช่น งานไม้ งานโลหะ งานไฟฟ้า งานปูน และงานประปา เป็นต้น เครื่องมือบางชนิดอาจใช้ประโยชน์ได้หลายงาน เช่น ค้อน เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ทั้งงานไม้และงานปูน เครื่องมือที่ใช้ในงานช่างพื้นฐานสามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท ดังนี้
เครื่องมือประเภทวัด
1. บรรทัดเหล็ก
     - ลักษณะการใช้งาน ใช้วัดระยะ
     - การดูแลรักษา ระวังอย่าให้ตกหล่น เช็ดให้สะอาดหลังใช้งาน
2. ฉากเหล็ก
     - ลักษณะการใช้งาน ใช้สำหรับวัดระยะทางและมุม
     - การดูแลรักษา ระวังอย่าให้ตกหล่น เช็ดให้สะอาดหลังใช้งาน
3. ตลับเมตร
     - ลักษณะการใช้งาน ใช้วัดระยะ
     - การดูแลรักษา ระวังอย่าให้ตกหล่น เช็ดให้สะอาดหลังใช้งาน
เครื่องมือประเภทตัด
เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตัดไม้หรือโลหะหรือวัสดุอื่น ๆ เครื่องมือตัดที่ใช้ในงานช่างมีหลายชนิดแล้วแต่การใช้งาน มีตัดต่อไปนี้ เลื่อย เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตัด ทำด้วยโลหะเป็นแผ่นบาง ๆ มีฟันเป็นซี่ ซึ่งเลื่อยที่นิยมใช้กันทั่วไป คือ
1. เลื่อยลันดา
เลื่อยลันดา แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เลื่อยตัดและเลื่อยโกรก เลื่อยใช้ตัดไม้ตามขวางของเสี้ยนไม้ มีฟันถี่จำนวนฟัน 8-12 ซี่ต่อความยาว 1 นิ้ว เลื่อยโกรกจะมีฟันห่างจำนวน 5-8 ซี่ต่อความยาว 1 นิ้ว ใช้สำหรับผ่าไม้ตามความยาวของเสี้ยนไม้
2. เลื่อยหางหนู
เลื่อยหางหนูลักษณะใบเลื่อยเรียวยาวไปตลอดแนว ใช้ในงานฉลุ แต่งวัตถุรูปทรงกลม หรือส่วนโค้ง ที่มีความยาวไม่มากนัก
3. เลื่อยตัดเหล็ก (เลื่อยมือ)
เลื่อยตัดเหล็กหรือเลื่อยมือ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานโลหะเป็นส่วนใหญ่ ส่วนประกอบคือตัวเลื่อย และใบเลื่อย ตัวเลื่อยเป็นโครงเหล็กมีด้ามหรือมือจับ ส่วนใบเลื่อยทำด้วยเหล็กกล้า มีความเหนียวมาก ฟันเลื่อยมีทั้งชนิดละเอียดและหยาบ
การใช้และการเก็บบำรุงรักษาเลื่อย
     1. ใช้ตะไบตกแต่งฟันเลื่อยให้คมอยู่เสมอ หลังจากทำความสะอาดซี่เลื่อย ออกหมดเรียบร้อยแล้ว
     2. ถอดใบเลื่อยมือออกจากตัวเลื่อยเมื่อใช้งานเสร็จแล้ว
     3. ทาด้วยน้ำมันเครื่อง เพื่อรักษาใบเลื่อยไม่ให้เป็นสนิม
     4. เก็บใส่กล่องเพื่อป้องกันความชื้น และเพื่อป้องกันการเกิดสนิม
เครื่องมือประเภทตอก
เครื่องมือประเภทตอก ได้แก่ ค้อน นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรมีไว้ประจำบ้าน เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้ได้สะดวก เป็นพื้นฐานของงานช่างประจำบ้าน ค้อนมีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้งานดังนี้
1. ค้อนหงอน
ค้อนหงอน เป็นค้อนที่นิยมใช้ตามบ้านทั่วไป มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ ส่วนหัวค้อนและด้ามค้อน ส่วนมากใช้กับงานช่างไม้ ในการจับยึดแน่นด้วยตะปู จึงมีทั้งการตอกและถอนตะปูอยู่เสมอ ค้อนหงอนจึงทำหน้าที่ทั้งตอกและถอนตะปู การจับค้อนที่ถูกวิธีควรจับตรงปลายของด้ามค้อน และเหวี่ยงน้ำหนักให้พอเหมาะ ตะปูจะได้ไม่คดงอ
2. ค้อนหัวกลม
ค้อนหัวกลม เป็นค้อนที่ใช้กับงานโลหะ ใช้ในงานตอก หรือทุบโลหะ พับโลหะ หรือเคาะโลหะให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามต้องการ
3. สว่านแท่น
สว่านแท่นหรือสว่านตั้งพื้น เป็นสว่านขนาดใหญ่มีแท่นสำหรับจับยึดชิ้นงานหรือใช้สำหรับวางปากกาจับชิ้นงานการติดตั้งจะติดตั้งอยู่กับที่ จึงเหมาะสำหรับการเจาะชิ้นงานที่สามารถนำมาวางบนแท่นจับยึดบนแท่นจับงาน หรือปากกาจับชิ้นงาน
การใช้และการบำรุงรักษา
     1. ก่อนใช้ควรตรวจดูสภาพของเครื่องให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
     2. เลือกดอกสว่านให้เหมาะกับชิ้นงาน
     3. เมื่อใช้ประแจขันหัวจับดอกสว่านแล้วควรดึงออกทุกครั้งเพื่อป้องกันอันตราย
     4. อย่าจับหัวดอกสว่านให้หยุดด้วยมือ
     5. ควรใช้อุปกรณ์ในการจับยึดให้แน่น
     6. ควรใช้แปรงปัดเศษโลหะที่เจาะ
     7. ก่อนใช้เครื่องควรหยอดน้ำมัน
     8. ไม่ควรตีหรือเคาะงานแรง ๆ บนแท่นเจาะ
     9. อย่าใช้แกนเจาะสว่านเป็นที่อัดหรือเจาะ
     10. หลังใช้งาน ปัด เช็ดทำความสะอาดทุกครั้ง
การเก็บรักษาเครื่องมือ
     1. ดูแลรักษาความสะอาดบนโต๊ะฝึกงานและพื้นที่รอบๆ
     2. เก็บเครื่องมือให้เรียบร้อยเมื่อใช้งานเสร็จ
     3. ตรวจสอบเครื่องมือด้วยน้ำมันหรือจาระบี เพื่อรักษาเครื่องมือที่เป็นโลหะ
     4. ควรเก็บเศษวัสดุดิบใส่ในกล่องหรือถังเก็บ
     5. ทำความสะอาดทุกครั้งเมื่อเสร็จงาน เพราะความสะอาดในโรงงานเป็นความปลอดภัยอย่างหนึ่ง
 
 

4 ความคิดเห็น: