วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

งานช่างไม้

งานช่างไม้

งานช่างไม้
งานไม้เป็นงานช่างที่ใช้ฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ ต้องมีความอดทน ขยัน มีความรับผิดชอบสูง สามารถนำทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นไม้มาประดิษฐ์เป็นของเล่นของใช้ได้อย่างเหมาะสม ทั้งที่จะต้องมีทักษะในการใช้เครื่องมือและกระบวนการในการใช้ จึงจะสามารถทำงาน ไม้ได้อย่างสวยงาม เรียบร้อย มีประสิทธิภาพในการใช้เครื่องมือและใช้วัสดุ ปัจจุบันไม้มีคุณค่ามาก หายาก เพราะป่าไม้ถูกทำลายไปเกือบหมด จนต้องใช้วัสดุอื่น ๆ มาทดแทนไม้ เช่น พลาสติก โลหะ งานช่างไม้ในงานช่างพื้นฐานเป็นงานช่างไม้เบื้องต้น สามารถปฏิบัติได้ทั้งชายและหญิง เช่น การรู้จักเครื่องมือเครื่องใช้ วิธีการใช้วัสดุ และการเก็บรักษา การซ่อมบำรุงสิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น เฟอร์นิเจอร์ ส่วนประกอบของอาคารบ้านเรือน เป็นต้น
ความสำคัญของงานช่างไม้
ความสำคัญของงานช่างไม้ มีความสอดคล้องกับความสำคัญของไม้ที่ใช้ในงานก่อสร้าง เนื่องจากไม้ เป็นวัสดุก่อสร้างที่หาได้ยาก และมีราคางานไม้ที่แพงกว่าวัสดุทดแทนประเภทอื่น แต่ถึงกระนั้น ไม้ยังคงเป็นที่ต้องการในงานประเภท เช่น วงกบไม้ ประตูไม้ หน้าต่างไม้ เฟอร์นิเจอร์ไม้ งานแกะสลักไม้ และผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับการตกแต่งบ้าน ช่างไม้มืออาชีพจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน ช่างไม้ที่ดีต้องมีทักษะและความชำนาญงานในหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบได้เป็นอย่างดี มีใจรักในหน้าที่ มีความคิดสร้างสรรงานไม้ให้ออกมาสวยงาม มีเอกลักษณ์ อีกทั้งยังต้องมีความรับผิดชอบสูง สามารถใช้งานไม้ได้อย่างเหมาะสม โดยสามารถแบ่งประเภทของงานช่างไม้ออกเป็น 4 ประเภทคือ งานช่างไม้ก่อสร้าง งานช่างไม้ครุภัณฑ์ งานช่างไม้ออกแบบ และงานช่างไม้แกะสลัก
ประเภทของงานช่างไม้
งานของช่างไม้งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก คื อ
     1. งานช่างไม้ก่อสร้าง โดยงานช่างไม้ก่อสร้างนั้น จะเป็นงานที่เกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ต้องอาศัยความอดทน และความแข็งแรงของร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะต้องปฎิบัติหน้าที่กลางแจ้ง หรือในที่สูง มีโอกาสเสี่ยงต่อแสงแดด ฝุ่นละออง ฝนตก หรือการพลักตกจากที่สูงได้ จึงต้องมีความเป็นมืออาชีพ และมีทักษะในการทำงานเป็นอย่างมาก
      2. งานช่างไม้ครุภัณฑ์ สำหรับงานช่างไม้ครุภัณฑ์ จะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเครื่องเรือนต่างๆ เฟอร์นิเจอร์ไม้ อุปกรณ์ช่างไม้ เครื่องมือช่างไม้ ชุดตกแต่งบ้านที่ทำจากไม้ และผลิตภัณฑ์จากไม้ทั้งหมด ผู้ที่ประกอบอาชีพช่างไม้นี้ควรเป็นบุคคลที่มีความละเอียด รอบคอบ มีความปราณีต แต่ไม่มีความเสี่ยงในการปฎิบัติงานเนื่องจากทำหน้าที่ภายในโรงงานไม้ ที่มีเครื่องจักร เครื่องมือเพียบพร้อม
      3. งานช่างไม้ออกแบบ สำหรับงานช่างไม้ออกแบบ จะเป็นงานที่เกี่ยวกับการทำแบบงานไม้ แบบหล่อโลหะ เช่น ชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ เป็นต้น ช่างไม้ออกแบบควรมีความละเอียดปราณีต สร้างไม้แบบโดยไม่ผิดเพี้ยน และมีเทคนิคในการใช้เครื่องมือได้อย่างชำนาญ
      4. งานช่างไม้แกะสลัก สำหรับงานช่างไม้แกะสลัก จะเป็นงานที่เกี่ยวกับการออกแบบ ตกแต่ง สร้างสรรค์ แกะสลักไม้ลวดลายต่างๆ ลงบนผลิตภัณฑ์ไม้
ประโยชน์ของงานช่างไม้ที่น่ารู้
ประโยชน์ของงานช่างไม้ มีทั้งต่อตนเอง และต่อผู้อื่น เพราะช่างไม้สามารถใช้งานเครื่องมือเกี่ยวกับงานไม้ได้อย่างชำนาญงาน และปลอดภัย ช่างไม้ยังช่วยในเรื่องของการซ่อมแซมดูแลรักษางานไม้ มีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพสามารถนำไปประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว พร้อมทั้งยังสร้างลักษณะนิสัยที่ดีให้กับตัวเองมีความรับผิดชอบด้วย สำหรับครอบครัว ก็สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ช่วยประหยัดรายจ่าย เนื่องจากสามารถซื้อหางานไม้ในราคางานไม้ที่ถูกกว่าบุคคลทั่วไป รู้จักบำรุงรักษาของใช้ภายในบ้าน ทำให้เกิดช่างไม้มืออาชีพที่มีฝีมือคุณภาพสูง เกิดการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างมีประโยชน์สูงสุด ช่างไม้ยังมีเทคนิคการใช้งานเครื่องมือที่ถูกต้องตามหลักการ มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งแปลกใหม่ ไอเดียการออกแบบผลงานผลิตภัณฑ์จากไม้ มีการสร้างสรรงานไม้แบบมืออาชีพ และบ่งชี้ให้สังคมเห็นคุณค่าของงานช่างไม้มากขึ้นอีกด้วย
เครื่องมือช่างพื้นฐาน
เครื่องมือที่ใช้ในงานช่างมีอยู่มากมายหลายชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะการใช้งาน ที่แตกต่างกันตามลักษณะงานของแต่ละประเภท เช่น งานไม้ งานโลหะ งานไฟฟ้า งานปูน และงานประปา เป็นต้น เครื่องมือบางชนิดอาจใช้ประโยชน์ได้หลายงาน เช่น ค้อน เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ทั้งงานไม้และงานปูน เครื่องมือที่ใช้ในงานช่างพื้นฐานสามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท ดังนี้
เครื่องมือประเภทวัด
1. บรรทัดเหล็ก
     - ลักษณะการใช้งาน ใช้วัดระยะ
     - การดูแลรักษา ระวังอย่าให้ตกหล่น เช็ดให้สะอาดหลังใช้งาน
2. ฉากเหล็ก
     - ลักษณะการใช้งาน ใช้สำหรับวัดระยะทางและมุม
     - การดูแลรักษา ระวังอย่าให้ตกหล่น เช็ดให้สะอาดหลังใช้งาน
3. ตลับเมตร
     - ลักษณะการใช้งาน ใช้วัดระยะ
     - การดูแลรักษา ระวังอย่าให้ตกหล่น เช็ดให้สะอาดหลังใช้งาน
เครื่องมือประเภทตัด
เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตัดไม้หรือโลหะหรือวัสดุอื่น ๆ เครื่องมือตัดที่ใช้ในงานช่างมีหลายชนิดแล้วแต่การใช้งาน มีตัดต่อไปนี้ เลื่อย เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตัด ทำด้วยโลหะเป็นแผ่นบาง ๆ มีฟันเป็นซี่ ซึ่งเลื่อยที่นิยมใช้กันทั่วไป คือ
1. เลื่อยลันดา
เลื่อยลันดา แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เลื่อยตัดและเลื่อยโกรก เลื่อยใช้ตัดไม้ตามขวางของเสี้ยนไม้ มีฟันถี่จำนวนฟัน 8-12 ซี่ต่อความยาว 1 นิ้ว เลื่อยโกรกจะมีฟันห่างจำนวน 5-8 ซี่ต่อความยาว 1 นิ้ว ใช้สำหรับผ่าไม้ตามความยาวของเสี้ยนไม้
2. เลื่อยหางหนู
เลื่อยหางหนูลักษณะใบเลื่อยเรียวยาวไปตลอดแนว ใช้ในงานฉลุ แต่งวัตถุรูปทรงกลม หรือส่วนโค้ง ที่มีความยาวไม่มากนัก
3. เลื่อยตัดเหล็ก (เลื่อยมือ)
เลื่อยตัดเหล็กหรือเลื่อยมือ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานโลหะเป็นส่วนใหญ่ ส่วนประกอบคือตัวเลื่อย และใบเลื่อย ตัวเลื่อยเป็นโครงเหล็กมีด้ามหรือมือจับ ส่วนใบเลื่อยทำด้วยเหล็กกล้า มีความเหนียวมาก ฟันเลื่อยมีทั้งชนิดละเอียดและหยาบ
การใช้และการเก็บบำรุงรักษาเลื่อย
     1. ใช้ตะไบตกแต่งฟันเลื่อยให้คมอยู่เสมอ หลังจากทำความสะอาดซี่เลื่อย ออกหมดเรียบร้อยแล้ว
     2. ถอดใบเลื่อยมือออกจากตัวเลื่อยเมื่อใช้งานเสร็จแล้ว
     3. ทาด้วยน้ำมันเครื่อง เพื่อรักษาใบเลื่อยไม่ให้เป็นสนิม
     4. เก็บใส่กล่องเพื่อป้องกันความชื้น และเพื่อป้องกันการเกิดสนิม
เครื่องมือประเภทตอก
เครื่องมือประเภทตอก ได้แก่ ค้อน นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรมีไว้ประจำบ้าน เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้ได้สะดวก เป็นพื้นฐานของงานช่างประจำบ้าน ค้อนมีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้งานดังนี้
1. ค้อนหงอน
ค้อนหงอน เป็นค้อนที่นิยมใช้ตามบ้านทั่วไป มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ ส่วนหัวค้อนและด้ามค้อน ส่วนมากใช้กับงานช่างไม้ ในการจับยึดแน่นด้วยตะปู จึงมีทั้งการตอกและถอนตะปูอยู่เสมอ ค้อนหงอนจึงทำหน้าที่ทั้งตอกและถอนตะปู การจับค้อนที่ถูกวิธีควรจับตรงปลายของด้ามค้อน และเหวี่ยงน้ำหนักให้พอเหมาะ ตะปูจะได้ไม่คดงอ
2. ค้อนหัวกลม
ค้อนหัวกลม เป็นค้อนที่ใช้กับงานโลหะ ใช้ในงานตอก หรือทุบโลหะ พับโลหะ หรือเคาะโลหะให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามต้องการ
3. สว่านแท่น
สว่านแท่นหรือสว่านตั้งพื้น เป็นสว่านขนาดใหญ่มีแท่นสำหรับจับยึดชิ้นงานหรือใช้สำหรับวางปากกาจับชิ้นงานการติดตั้งจะติดตั้งอยู่กับที่ จึงเหมาะสำหรับการเจาะชิ้นงานที่สามารถนำมาวางบนแท่นจับยึดบนแท่นจับงาน หรือปากกาจับชิ้นงาน
การใช้และการบำรุงรักษา
     1. ก่อนใช้ควรตรวจดูสภาพของเครื่องให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
     2. เลือกดอกสว่านให้เหมาะกับชิ้นงาน
     3. เมื่อใช้ประแจขันหัวจับดอกสว่านแล้วควรดึงออกทุกครั้งเพื่อป้องกันอันตราย
     4. อย่าจับหัวดอกสว่านให้หยุดด้วยมือ
     5. ควรใช้อุปกรณ์ในการจับยึดให้แน่น
     6. ควรใช้แปรงปัดเศษโลหะที่เจาะ
     7. ก่อนใช้เครื่องควรหยอดน้ำมัน
     8. ไม่ควรตีหรือเคาะงานแรง ๆ บนแท่นเจาะ
     9. อย่าใช้แกนเจาะสว่านเป็นที่อัดหรือเจาะ
     10. หลังใช้งาน ปัด เช็ดทำความสะอาดทุกครั้ง
การเก็บรักษาเครื่องมือ
     1. ดูแลรักษาความสะอาดบนโต๊ะฝึกงานและพื้นที่รอบๆ
     2. เก็บเครื่องมือให้เรียบร้อยเมื่อใช้งานเสร็จ
     3. ตรวจสอบเครื่องมือด้วยน้ำมันหรือจาระบี เพื่อรักษาเครื่องมือที่เป็นโลหะ
     4. ควรเก็บเศษวัสดุดิบใส่ในกล่องหรือถังเก็บ
     5. ทำความสะอาดทุกครั้งเมื่อเสร็จงาน เพราะความสะอาดในโรงงานเป็นความปลอดภัยอย่างหนึ่ง
 
 

มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก

สาเหตุ
มะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (human papilloma virus) ซึ่งติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ เมื่อได้รับเชื้อไวรัส HPV เชื้อชนิดนี้จะเข้าไปเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมภายในเซลล์ปากมดลูก จนกลไกการควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์ถูกกระตุ้นขึ้น ตามมาด้วยการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์เนื้องอก ซึ่งไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไรก็สามารถเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ทั้งนั้น แต่ที่ส่วนใหญ่พบมะเร็งชนิดนี้ในหญิงสูงอายุ ก็เพราะกว่าเชื้อ HPV จะปรากฏอาการผิดปกติจนกระทั่งนำไปสู่การเป็นโรคมะเร็ง อาจใช้เวลานานกว่า 5-10 ปี 
อาการ
มะเร็งปากมดลูกระยะแรกจะยังไม่ปรากฏอาการใดๆเลย แต่ถ้าเข้าสู่ระยะลุกลาม จะมีอาการตกขาวมีกลิ่น มีลักษณะเป็นหนอง หรือมีลักษณะคล้ายน้ำไหลออกมาจากช่องคลอด มีเลือดออกทางช่องคลอด ปัสสาวะลำบากหรืออาจปัสสาวะเป็นเลือด นอกจากนี้ ยังอาจลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ด้วย เช่น ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ ปอด ตับ และกระดูก หรืออาจมีอาการร่างกายซีด อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดประกอบด้วย ดังนั้นเมื่อมีอาการตกขาวผิดปกติ หรือเลือดออกภายหลังมีเพศสัมพันธ์ ควรปรึกษาแพทย์
วิธีป้องกัน
ในเมื่อเราแทบไม่รู้ตัวเลยหากกำลังมะเร็งระยะแรก สาวๆจึงต้องรู้จักวิธีป้องกันและดูแลตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคน งดสูบบุหรี่ สังเกตอาการผิดปกติและที่สำคัญก็คือการไปพบแพทย์เพื่อตรวจหามะเร็งปากมดลูกที่เรียกว่า การตรวจแป็ปสเมียร์ (Pap Smear) อย่างน้อยปีละครั้ง โดยสาวๆเวอร์จิ้นควรเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 30 ปี ส่วนผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้วควรตรวจเป็นประจำ
การรักษา
การรักษาความผิดปกติของมะเร็งปากมดลูกระยะแรก สามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัด(ซึ่งใช้เวลาเพียง 20 นาทีเท่านั้น) หรืออาจใช้เครื่องจี้เย็น เครื่องจี้ไฟฟ้า และการใช้เลเซอร์ ส่วนมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม ก็สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด การฉายรังสีและการให้ยาเคมีบำบัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรค ปัจจุบันในหลายประเทศได้อนุมัติให้จดทะเบียนใช้วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก "Gardasil"ที่สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ 70 เปอร์เซ็นต์สำหรับผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน แต่จะไม่มีผลใดๆ หากฉีดในขณะที่ติดเชื้อแล้ว

โรค ตาแดง

โรค ตาแดง

สาเหตุ
โรคตาแดงเกิดจากเยื่อบุตาขาวมีอาการอักเสบ เนื่องจากเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย และเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่าย ทั้งในกลุ่มเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งโดยมากจะพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ และมักติดต่อและระบาดได้รวดเร็ว
อาการ
ผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคตาแดงมักมีอาการไม่รุนแรง เพียงแค่รู้สึกเคืองตา คันตา มีอาการตาแดง น้ำตาไหล หรือ ตาขาวอาจเป็นปื้นแดง คล้ายเส้นเลือดฝอยแตก หนังตาอาจบวมเล็กน้อย ขี้ตามีไม่มาก อาจเริ่มที่ ตาข้างหนึ่งก่อน แล้วจึงลามไปอีกข้างหนึ่ง
การป้องกัน
     -ถ้ามีฝุ่นละออง หรือนํ้าสกปรกเข้าตา ควรล้างตาด้วยนํ้าละอาดทันที -เมื่อเป็นหรือสงสัยว่าเป็นโรคตาแดง ควรไปพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อรับการรักษา
     -ผู้ป่วยควรนอนแยกจากสมาขิกในครอบครัว และไม่ใช้สิ่งของส่วนตัว เข่น เสื้อผ้า ผ้าเข็ดตัว  แว่นตา และเครื่องนอน ร่วมกับผู้อื่น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
     -หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยนํ้าและสบู่ ห้ามใช้มือขยี้ตา -รักษาความสะอาดเสื้อผ้าและของใช้ส่วนตัว สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด
     -ถ้าต้องออกไปนอกบ้าน ควรใส่แว่นตาเพื่อป้องกันลม และฝนละออง
     -ถ้ามีอาการปวดตารุนแรง ตาพร่า ตามัว แขนขาเป็นอัมพาต หรืออาการตาแดงไม่ทุเลา ภายใน 7 วัน รีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ที่สถานบริการสาธารณสุข
     -ผู้ป่วยโรคตาแดง ควรหยุดงาน หรือหยุดเรียน พักรักษาตัวที่บ้าน เพื่อป้องกันมิให้โรคลุกลาม หรือติดต่อสู่ขุมขน
การรักษา
     -ไปพบแพทย์ ทานยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง
     -ประคบเย็นวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ10-15 นาที
     -ล้างมือบ่อยๆ -อย่าขยี้ตาเพราะจะทำให้ตาระคายมากขึ้น
     -ใส่แว่นกันแดด หากมองแสงสว่างไม่ได้
     -อย่าใส่ contact lens ช่วยที่มีตาแดง
     -เปลี่ยนปลอกหมอนทุกวัน เปลี่ยนหมอนทุก 2 วัน

การตอนกิ่ง

การตอนกิ่ง (Layering)

 

      การตอนกิ่ง  เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชที่ใช้กันมานานและเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวสวน ทั่วๆไป  วิธีการตอนกิ่งที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นวิธีการที่ได้นำมาจากประเทศจีน แต่ได้ดัดแปลงไปบ้างเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติ ในยุโรปและอเมริกาก็มีวิธีขยายพันธุ์พืชด้วยการตอนกิ่งเช่นเดียวกัน แต่วิธีการในการตอนกิ่งผิดไปจากวิธีที่รู้จักกันดีในบ้านเราและเรามักเรียก วิธีการตอนกิ่งแบบยุโรปว่า  "การตอนทับกิ่ง"  ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะการตอนกิ่งแบบชาวจีน หรือการตอนกิ่งแบบตอนหุ้มกิ่ง ซึ่งมีวิธีการตอนหุ้มกิ่งหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นการตอนกิ่งแบบชาวจีน หรือการตอนทับกิ่งแบบชาวยุโรป  โดยหลักการในการ ตอนต้นพืชแล้วก็คือ การทำให้ต้นหรือกิ่งพืชออกรากขณะที่ยังติดอยู่กับต้นแม่ หลังจากต้นหรือกิ่งพืชออกรากดีแล้วจึงตัดไปปลูกภายหลัง  ฉะนั้นโอกาสของการที่กิ่งพืชจะมีชีวิตอยู่รอด จึงดีกว่าการขยายพันธุ์ด้วยการตัดชำ แต่ก็มีข้อเสียอยู่ที่ว่าขยายได้ช้ากว่า  ด้วยเหตุนี้ถ้าต้องการต้นพืชจำนวนมากๆ แล้วมักจะไม่ใช้การขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง  เว้นแต่ต้นพืชนั้นจะขยายพันธุ์ไม่ได้ด้วยการตัดชำ หรือออกรากยากกว่าการตอนกิ่งเท่านั้น การตอนกิ่งแบบชาวจีน หรือแบบที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นวิธีที่ใช้ในการตอนกิ่งพืชพวกไม้พุ่ม และไม้ยืนต้นเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งพืชพวกไม้ผลและไม้ประดับ เช่น  ลำไย  ลิ้นจี่  ละมุด  ส้มเขียวหวาน  ส้มโอ  กระท้อน  กุหลาบ  มะลิ  ดอนย่า  เป็นต้น  การออกรากของ กิ่งตอน จะขึ้นอยู่กับความชื้น การถ่ายเทอากาศ และระดับอุณหภูมิที่เหมาะสม แต่ถ้าปล่อยให้ดินหรือวัสดุหุ้มกิ่งแห้งโดยมิได้ดูแล ย่อมจะเป็นอุปสรรคต่อการเกิดรากได้เช่นกัน  ดังนั้น ฤดูกาลที่เหมาะสมที่สุดในการตอนกิ่ง ควรเป็นฤดูฝน การตอนกิ่ง  ใช้แก้ปัญหา โดยเฉพาะพืชบางชนิดที่ไม่สามารถออกรากได้โดยใช้วิธีตัดชำ  แต่ออกรากได้โดยวิธีตอนกิ่ง  สามารถทำได้ง่ายทั้งกลางแจ้งและในเรือนเพาะชำ  นอกจากนี้ กิ่งตอนยังมีจำนวนรากมากกว่ากิ่งตัดชำ เมื่อนำไปปลูก จึงมีโอกาสตั้งตัวได้เร็วและมีเปอร์เซ็นต์การตายน้อยกว่ากิ่งตัดชำ  ประการสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ  พืชต้นใหม่ที่ได้จากการตอน จะมีลักษณะเป็นไม้พุ่มเตี้ย  จึงสะดวกต่อการดูแลปฏิบัติบำรุงรักษาและเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะไม้ประดับ จะได้ทรงพุ่มที่สวยงาม  เป็นต้น  แต่กิ่งตอนมีข้อเสีย คือ พืชที่นำไปปลูกเมื่อโตเต็มที่จะล้มง่าย เพราะไม่มีรากแก้ว
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตอนกิ่ง
     ๑) การทำให้เกิดการสะสมอาหารและสารบางชนิดที่จำเป็นต่อการงอกราก ในบริเวณที่ทำการตอน โดยวิธีการทำให้กิ่งเกิดแผล เพื่อตัดท่อลำเลียงอาหารของพืชในส่วนอื่นๆ จึงเกิดการสะสมอาหารและสารบางอย่างขึ้นเหนือแผลที่ทำการตอน
     ๒) การสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการงอกรากของพืช เช่น ความชื้น อุณหภูมิ และแสงสว่าง
     ๓) การดูแลรักษา ควบคุมความชื้นหรือการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย อันเกิดจากศัตรูอื่นๆ เช่น มด แมลง สัตว์เลี้ยง เป็นต้น
อุปกรณ์ที่ใช้ในการตอนกิ่ง
     ๑) มีดขยายพันธุ์หรือคัตเตอร์ (Cutter) หรือมีดติดตาต่อกิ่ง
     ๒) ถุงพลาสติกขนาด ๒x๔ นิ้ว หรือ ๓x๕ นิ้ว
     ๓) วัสดุหุ้มกิ่งตอน เช่น กาบมะพร้าว ถ่านแกลบหรือขุยมะพร้าว
     ๔) เชือกมัดวัสดุหุ้มกิ่งตอน เช่น เชือกฟาง
     ๕) ฮอร์โมนเร่งราก
ส่วนวิธีการตอนนั้นปฏิบัติเป็นขั้นๆ ดังนี้
     ๑). การเลือกกิ่ง  กิ่งหรือต้นพืชที่จะตอนจะต้องเป็นกิ่งไม่อ่อนและไม่แก่เกินไป  ใบงาม ไม่มีโรคหรือแมลงทำลาย ได้รับแสงแดดสม่ำเสมอ โดยปกติมักจะเลือกกิ่งกระโดง ซึ่งอาจจะเป็นกิ่งกระโดงตั้ง หรือกระโดงครีบ ก็ได้  กระโดงตั้ง คือกิ่งที่เจริญตั้งตรง เป็นกิ่งที่เจริญแข็งแรง การจัดกิ่งย่อยภายในกิ่งเจริญสม่ำเสมอทุกด้าน กระโดงครีบ เป็นกิ่งที่เจริญด้านเดียว มักเป็นกิ่งเอน และมักเป็นกิ่งย่อยของกิ่งกระโดงตั้ง
     ๒). การทำแผลบนกิ่ง  การทำแผลบนกิ่งจะขึ้นอยู่กับชนิดของพืช  และความยากง่ายในการงอกราก ซึ่งบางพืชอาจไม่ต้องทำแผลเลยก็สามารถออกรากได้  ส่วนใหญ่มักเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น ต้นสาวน้อยประแป้ง  พลูด่าง  และพลูฉีก พืชบางชนิด อาจใช้วิธีกรีดเปลือกตามยาวของกิ่ง  เช่น  กุหลาบ ยี่โถ  หรือพืชบางชนิดอาจปาดท้องกิ่ง  เช่น  ต้นชวนชม  แต่มีบางชนิดที่ต้องควั่นกิ่งโดยเฉพาะพืชที่ออกรากยาก  มีความจำเป็นที่จะต้องทำแผลโดยการควั่นกิ่ง เพราะการควั่นนอกจากจะทำให้เกิดบริเวณออกรากแล้ว ยังมีผลเกี่ยวกับการสะสมธาตุอาหารรวมทั้งสารฮอร์โมน ให้เกิดขึ้นภายในกิ่งซึ่งจะมีผลดีในการออกรากด้วย  ดังนั้นเพื่อความแน่นอนในเรื่องการออกราก  ชาวสวนทั่วไปจึงใช้วิธีการทำแผลด้วยการควั่นกิ่งแทบทั้งสิ้น
     ๓). การทาฮอร์โมน  การใช้ฮอร์โมนเร่งรากทาบริเวณที่ทำแผล หรือบริเวณที่กิ่งจะเกิดราก จะช่วยให้กิ่งพืชเกิดรากดีขึ้น  คือ มีรากมากขึ้น รากเจริญเร็วขึ้น และอาจออกรากเร็วขึ้น  การทาฮอร์โมนปกติจะทาเฉพาะบริเวณที่จะเกิดรากเท่านั้น เช่น บริเวณที่เป็นรอยกรีด  หรือรอยปาด  หรือรอยควั่นตอนบนเท่านั้น และการที่จะใช้ฮอร์โมนตอนต้นพืชฃชนิดใดนั้น ควรจะได้ศึกษาหรือทดลองมาก่อนเพราะต้นพืชแต่ละชนิดออกรากยากง่ายต่างกัน โดย ปกติต้นพืชที่ออกรากไม่ยาก  อาจใช้ฮอร์โมนชนิดอ่อนหรือที่มีความเข้มข้นน้อยๆ ก็เพียงพอ ส่วนต้นพืชที่ออกรากยากๆ จำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนแรงๆ หรือที่เข้มข้นมากๆ ตามลำดับ  การใช้ฮอร์โมนที่ตรงกันข้ามกับที่กล่าวนี้  นอกจากจะไม่ได้ผลดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการทำลายกิ่งพืชที่ตอน และทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกด้วย
     ๔). การหุ้มกิ่งตอน  วัตถุที่จะใช้หุ้มกิ่งตอนอาจใช้วัตถุต่างๆ ได้หลายอย่าง  ข้อสำคัญก็คือวัตถุนั้นๆ ต้องอมความชื้นได้พอ ไม่เป็นพิษกับกิ่งพืช มีราคาถูก  และหาได้ง่าย  เช่น หญ้ามอสส์ (sphagnum moss) กาบมะพร้าวชุบน้ำ  ปุยมะพร้าว ผ้ากระสอบป่าน  หรือรากผักตบชวา  แม้กระทั่งดินธรรมดาๆ ทั่วๆ ไปใช้ก็ได้ แต่วัตถุที่นิยมใช้จะ ต้องสะดวกต่อการหุ้ม เช่น ใช้กาบมะพร้าวชุ่มน้ำทุบให้แผ่ ตัดเป็นท่อนให้พอเหมาะกับขนาดกิ่งตอนซึ่งเมื่อจะหุ้มก็จะสามารถหุ้มกิ่งได้ ง่าย  ส่วนการหุ้มอาจใช้วัตถุชนิดเดียว  เช่น  หญ้ามอสส์ล้วนๆ หรือกาบมะพร้าวล้วนๆ หรืออาจใช้ดินหุ้มก่อนแล้วหุ้มหญ้ามอสส์ หรือกาบมะพร้าวอีกชั้นหนึ่งก็ได้ ข้อสำคัญก็คือ ต้องพันหรือหุ้มวัตถุหุ้มกิ่งให้แน่นพอสมควร  อย่าให้หมุนหรือคลอนไปมาได้ง่าย และพยายามหุ้มให้กลางกระเปาะวัตถุที่หุ้มอยู่ตรงกับบริเวณที่ออกรากด้วย
     ๕). การรักษาความชื้น หลังจากตอนกิ่งแล้วโดยเฉพาะราว ๓-๕ วัน จากที่หุ้มกิ่ง จะต้องรดน้ำกระเปาะตอนหรือมัดวัตถุหุ้มกิ่งที่ตอนนั้นให้ชื้นสม่ำเสมอในการ รักษาความชื้นนี้อาจใช้วิธีรดน้ำกระเปาะที่ตอนทุกวัน  หรือใช้วิธีรดทั้งต้นแบบฝนตก  แต่ที่สะดวกก็คือใช้ผ้าพลาสติกหุ้มให้มิด  ทั้งนี้เพื่อมิให้น้ำจากกระเปาะวัตถุนั้นระเหยออกมาได้ การหุ้มผ้าพลาสติกกระเปาะที่ตอนแล้ว  ควรจะได้หุ้มเสียแต่ตอนแรกขณะที่วัตถุนั้นยังชื้นอยู่   ซึ่งการหุ้มพลาสติกในทำนองนี้จะช่วยให้กระเปาะกิ่งตอนชื้นอยู่ตลอดเวลา  จนกระทั่งกิ่งออกราก  อย่างไรก็ตามในระหว่างรอการออกราก  ควรจะได้ตรวจดูกระเปาะตอนบ้าง เพราะอาจมีมดกัดผ้าพลาสติกให้เป็นรู ทำให้กระเปาะตอนแห้งได้ การแก้ไขก็คือใช้เข็มฉีดยา ฉีดน้ำเข้าไปในกระเปาะตอนราว ๕-๗วันต่อครั้ง จนกว่ากิ่งจะออกรากมากพอและตัดมาปลูกได้
     ๖). การตัดกิ่งตอน เมื่อถึงเวลาอันควร  กิ่งพืชที่ตอนไว้ก็จะเกิดราก  เวลาของการออกรากนี้จะมากน้อยต่างกัน  พวกไม้ประดับทั่วๆ ไปจะออกรากเร็วกว่าพวกไม้ผล  แต่ไม้ผลแต่ละชนิดก็จะใช้เวลาในการออกรากแตกต่างกัน  เช่น  ชมพู่จะออกรากเร็วกว่าส้ม  ส้มเร็วกว่าละมุด  เป็นต้น  แต่ส่วนใหญ่จะใช้เวลาไม่เกิน ๓ เดือน  ในการตัดกิ่งตอนจะต้องดูจำนวนรากว่ามีรากมากพอหรือยัง  และควรจะรอให้รากมีจำนวนมากพอได้สัดส่วนกับขนาดของกิ่งและใบ ซึ่งถ้ากิ่งยิ่งโตมีใบมากก็ต้องเป็นกิ่งที่มีรากมาก มิฉะนั้นรากจะดูดน้ำไปเลี้ยงใบไม่ทันกิ่งก็จะแห้งเหี่ยวตายไปในที่สุด หรือมิฉะนั้นก็จะต้องตัดกิ่งและใบทิ้งเสียบ้าง  อย่างไรก็ตาม พวกไม้ดอกหรือไม้ประดับ ซึ่งรากมักเจริญได้เร็วหลังจากตัดกิ่งแล้ว เช่น กุหลาบ ดอนย่า ฯลฯ  อาจตัดกิ่งได้เมื่อรากยังมีไม่มากนัก เพราะต้นพืชจะสร้างรากได้ไวหลังจากตัดมาปลูกแล้ว ส่วนพืชพวกไม้ผล จะต้องรอให้กิ่งมีรากมากพอ หรืออย่างน้อยจะต้องรอให้มีแขนงรากเกิดขึ้นให้มากพอ  ฉะนั้นการตัดกิ่งตอนพวกไม้ผล จึงจำเป็นต้องใช้เวลายาว นานกว่าไม้ประดับโดยทั่วไป
     ๗). การปลูกกิ่งตอน  กิ่งตอนที่ตัดได้อาจมีจำนวนรากมากน้อยต่างกัน  เพื่อป้องกันการเสียหายซึ่งอาจจะเกิดขึ้น ควรจะได้คัดกิ่งตอนออกเป็นพวกๆ ตามความมากน้อยของรากเสียก่อน คือ คัด กิ่งที่มีรากมากและรากน้อยออกคนละพวก  พวกที่มีรากมากอาจปลูกลงกระถางหรือลงถุงปลูกได้ทันทีส่วนพวกที่รากยังไม่มากพอ  ควรจะได้ตัดแต่งกิ่งและใบออกเสียบ้าง แล้วนำไปชำรวมกันไว้ในกระบะหรือภาชนะที่เหมาะสม เพื่อรอให้รากเกิดมากขึ้นจึงจะนำไปปลูกภายหลัง  ข้อสำคัญในการปลูกกิ่งตอน คือ อย่าปลูกให้ลึกโดยเฉพาะในการใช้วัตถุปลูกที่ทึบหรืออับอากาศ เช่น ดินเหนียว เป็นต้นเพราะจะทำให้รากเจริญช้า ควรจะปลูกให้กระเปาะฃตอนโผล่พ้นดินปลูกเล็กน้อย ประมาณหนึ่งในสี่ของกระเปาะตอน จากนั้นจึงนำกระถางปลูกไปตั้งไว้ในที่ร่มรำไร คือ ที่ที่มีแสงแดดส่องเล็กน้อย   คอยพรมน้ำให้ใบกิ่งตอนชื้นอยู่เสมอๆ แต่ไม่ควรรดน้ำจนดินปลูกแฉะ และหลังจากยอดเริ่มเจริญหรือแตกยอดใหม่จึงเพิ่มแสงแดดให้มากขึ้น
 
 

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คำศัพ์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับสถานที่

คำศัพ์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับสถานที่


Airport –สนามบิน
Train station – สถานีรถไฟ
Subway station - สถานีรถไฟใต้ดิน
Bus station – สถานีรถประจำทาง
Fire station – สถานีดับเพลิง
Police station – สถานีตำรวจ
Hospital – โรงพยาบาล
Post Office – สำนักงานไปรษณีย์
Water station - สำนักงานการประปา
Clinic – คลินิก
Store – ร้านค้า
Hotel – โรงแรม
Toilet – ห้องน้ำ
Bus stop – ป้ายหยุดรถประจำทาง
Restaurant - ร้านอาหาร
Market – ตลาด
Library - ห้องสมุด
Temple – วัด
Church – โบสถ์
Garage – โรงรถ
Gas station – ปั๊มน้ำมัน
Bank – ธนาคาร
Swimming pool - สระว่ายน้ำ
Home – บ้าน
House – บ้าน
Sea – ทะเล
Beach – ชายหาด
Port – ท่าเรือ
Lighthouse - ประภาคาร
Dock – อู่ต่อเรือ
Lumber.- โรงไม้
Smithy. - โรงตีเหล็ก
Oil refinery - โรงกลั่นน้ำมัน
Power plant. - โรงผลิตไฟฟ้า
Park – สวนสาธารณะ
Playground - สนามเด็กเล่น
Zoo – สวนสัตว์
Garden - สวน
Museum – พิพิธภัณฑ์
Theater - โรงหนัง
Book store – ร้านขายหนังสือ
Farm – ฟาร์มเลี้ยงสัตว์
Mountain – ภูเขา
Hill – เนินเขา
Road – ถนน
River - แม่น้ำ
Water fall – น้ำตก
Bridge - สะพาน
department store - ห้างสรรพสินค้า
Bar – บาร์ดื่มเหล้า
Butcher - ร้านขายเนื้อ
Brewery. - โรงกลั่นเบียร์
Quarter – ฐานทัพ
Warehouse – คลังสินค้า
Pawn shop – โรงจำนำ
Basement – ห้องใต้ดิน
Office – สำนักงาน
Sheriff's office.- สำนักงานนายอำเภอ
Parking – ที่จอดรถ
Stadium – สนามกีฬา
Poly technic school - โรงเรียนโพลีเทคนิค
Café - ร้านกาแฟ
School – โรงเรียน
University – มหาวิทยาลัย
Technical School. – โรงเรียนเทคนิค
Boutique - ร้านขายเสื้อผ้าสตรี
Publishing books.- โรงพิมพ์หนังสือ
Factory – โรงงาน
Tobacco factory – โรงงานยาสูบ
Court – ศาล
Law Office – สำนักงานกฎหมาย
Prison – เรือนจำ
Jail – คุก , ห้องขัง
Nurseries – สถานรับเลี้ยงเด็ก
Nursing home – บ้านพักคนชรา
Florist's – ร้านขายดอกไม้
Souvenir shop – ร้านขายของที่ระลึก
Gymnasium – โรงยิม , โรงพละ
Cafeteria – โรงอาหาร
Movie rental store. - ร้านเช่าหนัง