วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บุคคลสำคัญของประเทศไทย

บุคคลสำคัญของประเทศไทย

 

บุคคลสำคัญคนที่ 1 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ   กรมหลวงวงษาธิราชสนิท

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ   กรมหลวงวงษาธิราชสนิท   ทรงเป็นศิษย์ในสำนักของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า   กรมพระปรมานุชิตชิโนรส   จินตกวีเอกสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทรงสนพระทัยและศึกษาทางด้านวรรณคดีจนทรงพระปรีชาสามารถอย่างแตกฉานทั้งด้านการแต่งโคลง   ฉันท์   กาพย์   กลอน   แต่ที่ยังคงปรากฏเด่นชัดอยู่ในปัจจุบันนี้มี 3 เรื่อง   ซึ่งได้ทรงไว้ก่อนที่จะเข้ารับราชการ   คือ   นิราศพระประธม   เพลงยาวสามชาย   และตำรากลบทสิงโตเล่นหาง 
งานกวีนิพนธ์ทั้ง 3 เรื่องนี้มีความแตกต่างกัน   นิราศพระประธม   เป็นโคลงนิราศรุ่นแรก ๆ ที่ทรงใช้เวลาในการแต่งประมาณ 2 ปี   ใน พ.. 2377 -  2379  เมื่อพระชันษา   26 พรรษา   ในโอกาสที่ได้เสด็จไปนมัสการพระปฐมเจดีย์   โดยเริ่มตั้งแต่เสด็จออกจากท่าที่ประทับ ณ วังท้ายหับเผย วังที่ โดยทางชลมารค   และได้พรรณนาถึงสถานที่สำคัญ ๆ ในระหว่างทางจนถึงพระปฐมเจดีย์  ลักษณะเด่นของ นิราศพระประธมนี้   นอกจากจะเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของคนไทยช่วงต้นรัตนโกสินทร์แล้ว   ยังชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการของวรรณกรรมประเภทนิราศอีกด้วย   กล่าวคือ โคลงนิราศพระประธมคงลักษณะรูปแบบเดิมของการแต่งนิราศไว้ แต่ได้สะท้อนให้เห็นถึงความคิดของกวีที่ให้ความซาบซึ้งถึงประสบการณ์จริงควบคู่กับการพรรณนาโวหาร   เพราะนิราศแบบดั้งเดิมไม่ได้ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ที่เป็นจริงเท่าไหร่นัก   และเน้นทางด้านวรรณศิลป์เพียงอย่างเดียว 
พระนิพนธ์ เพลงยาวสามชาย ไม่ปรากฏหลักฐานว่าแต่งขึ้นเมื่อใด   แต่มีลักษณะเด่นที่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดีของกวีวัยหนุ่ม   สาวรุ่นเดียวกันทั้ง 4 ท่าน   ในการร่วมกันจรรโลงงานกวีนิพนธ์   คือ   พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว   กรมหลวงวงษาธิราชสนิท   พระสุริยภักดี   ( สนิท   บุนนาค)   และคุณพุ่ม   โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่าง   พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และ   กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ซึ่งเป็นพระสหายสนิทกันมาแต่เยาว์วัย   เนื่องจากเจ้าจอมมารดาปราง (ใหญ่)   ได้ถวายการอภิบาลทั้งสองพระองค์คู่กันมา 
พระนิพนธ์ ตำราเพลงยาวกลบทสิงโตเล่นหาง   เป็นงานกวีนิพนธ์ที่แต่งร่วมกับกวีที่สำคัญในราชสำนักหลายท่าน   เพื่อถวายเป็นพระราชศรัทธาแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว   ในการบูรณะปฎิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม   ในพ.. 2374 – 2378 

ในปีพ.. 2385  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว     กรมหลวงวงษาธิราชสนิททรงมีพระประสงค์ที่จะพระนิพนธ์แบบเรียนให้การศึกษา   จึงได้ทรงพระนิพนธ์เรื่อง จินดามณี เล่ม 2 ขึ้น   โยทรงนำแบบมาจากำจินดามณีฉบับของ   พระโหราธิบดี   เล่มแรก มาแก้ไขการอธิบายหลักเกณฑ์ภาษาไทยให้กะทัดรัดและ เข้าใจง่ายกว่าเดิม   แต่ข้อแตกต่างที่สำคัญคือ   ทรงสอดแทรกคำสอนที่เน้นด้านศีลธรรม   ตลอดจนข้อปฏิบัติของผู้ที่จะเข้ารับราชการอีกด้วย

ด้านการแพทย์แผนโบราณ สมุนไพรไทย

กรมหลวงวงษาธิราชสนิท   ทรงถือกำเนิดจากพระมารดาที่มาจากตระกูลแพทย์แผนโบราณ   ทรงได้รับการอบรมปลูกฝังให้เรียนรู้ด้านการแพทย์แผนโบราณมาแต่เยาว์วัย   ทำให้ทรงตระหนักถึงข้อดีข้อด้อยของวิชาการแพทย์แผนโบราณเป็นอย่างดี   กอปรกับพระอุปนิสัยส่วนพระองค์ที่มีความกระตือรือร้นใฝ่รู้ด้านการศึกษาอยู่เป็นนิจ   เพื่อเพิ่มพูนความรู้   ความสามารถของพระองค์ 
วิชาการแพทย์แผนโบราณ   เป็นวิชาที่ต้องอาศัยทักษะ   ความชำนาญ   และประสบการณ์เป็นพิเศษ   จึงนิยมที่จะถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุตรหลานในตระกูลเป็นส่วนใหญ่   เพราะต้องใช้เวลา   และความรู้หลายขั้นตอนเพื่อให้มีความเชี่ยวชาญในการบำบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บ   ทรงได้รับการถ่ายทอดวิชาแพทย์แผนโบราณจากขวัญตาบุญเกิดผู้เป็นตามาแต่เยาว์วัย   จนทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย   พระบรมราชชนกให้ทรงทำหน้าที่ในการปรุงยาถวายตั้งแต่พระชันษายังน้อย       
ในรัชสมัย   พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว   ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์เจ้านวม   ให้ทรงกรมเป็น   กรมหมื่นวงษาสนิท   เมื่อพ.. 2385  ขณะมีพระชันษา 34 พรรษา   กำกับราชการกรมหมอ   ซึ่งเป็นกรมที่มีบทบาทสำคัญกรมหนึ่ง   เนื่องจากมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการดูแลบำบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บแก่พระมหากษัตริย์   พระบรมวงศานุวงศ์   ตลอดจนขุนนาง   และข้าราชการชั้นสูงในราชสำนัก   
ทรงเป็นแพทย์ไทยพระองค์แรกที่สำเร็จการศึกษาด้านวิชาแพทย์แผนตะวันตก   จนเป็นที่ยอมรับในหมู่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ   เป็นแพทย์ไทยพระองค์แรกที่นำความรู้ทางการแพทย์แผนตะวันตกมาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในวงการแพทย์ไทย   และได้ถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวสู่สมาชิกในราชสกุลของพระองค์อีกด้วย   ทำให้บุคคลเหล่านี้ได้มีส่วนร่วมในการสร้างคุณประโยชน์แก่วงการแพทย์   และสาธารณสุขต่อมา ในช่วงเวลานั้นคณะมิชชันนารีได้นำเอาวิชาการแพทย์ตะวันตกเข้ามา กรมหลวงวงษาธิราชสนิท   ทรงตระหนักถึงคุณประโยชน์ของวิชาการแพทย์ตะวันตกว่า   การรักษาด้วยการแพทย์แผนโบราณแต่เพียงอย่างเดียวนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บได้อย่างมีประสิทธิภาพนัก   โดยเฉพาะอย่างยิ่งยามที่เกิดโรคระบาดขึ้นในแต่ละครั้งมีผู้คนเสียชีวิตมากมาย   มิชชันนารีที่มีบทบาทเป็นที่รู้จักได้แก่ นายแพทย์ แดน บีช บรัดเลย์   (Dr. Dan Beach Bradley)  นายแพทย์ซามูเอล   เรโนลด์ เฮ้าส์   (Dr. Samuel Renold House)  
กรมหลวงวงษาธิราชสนิท   ทรงเริ่มศึกษาวิชาแพทย์แผนตะวันตกอย่างจริงจังหลังจากที่หมอบรัดเลย์ทำการผ่าตัดและปลูกฝีเพื่อป้องกันไข้ทรพิษสำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย   ทรงศึกษาหาความรู้จากหมอบรัดเลย์ และหมอเฮ้าส์   เพื่อพัฒนาความรู้ให้เป็นเหตุเป็นผลในเชิงวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น   และได้ทรงนำวิชาการแพทย์แผนโบราณมาประยุกต์กับการแพทย์ตะวันตกเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของประเทศไทยในขณะนั้น   ด้วยพระปรีชาสามารถจึงทำให้ได้รับประกาศนียบัตรถวายเป็นพระเกียรติยศด้านการแพทย์พระองค์แรกของประเทศไทย   และทรงได้รับเชิญเป็นสมาชิกของสถาบันการแพทย์แห่งนิวยอร์ก   (New York Academy of Medicine)  ประเทศสหรัฐอเมริกา     ทำให้ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในประชาคมโลกระดับหนึ่ง 

               พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงแต่ง โคลงภาพฤาษีดัดตน ตำราบางส่วนที่คัดมาจากสมุดไทยในรัชกาลที่ ๓ ท่ากายบริหารฤาษีดัดตน แก้เมื่อย แก้ปวด แก้ท้องผูก แก้โรคลมต่าง กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ได้ทรงคิดค้นทดลองสรรพคุณ   “ ยาควินิน ”  หรือ   “ ยาวขาวฝรั่ง ”  จากหลักฐานตอนหนึ่งที่กล่าวถึงการใช้ยาควินินของหมอบรัดเลย์ว่า    “... ปลัดเลนำวิชาการแพทย์และยาสมัยใหม่เข้ามาครั้งนั้น   เมื่อหัวทีคนทั้งปวงก็พากันทึ่ง   ลางคนถึงกับไม่กล้าจะกินเข้าไป   เกรงจะไปเกิดโทษร้ายในกายตัว   ครั้นมาเห็นผู้ป่วยที่กินเข้าไปกลับหายสบายตัวจากโรคร้ายมากขึ้น   จึงได้พากันทดลองก็ได้เห็นผลชงัดนัก   เลยเล่าลือกันมากขึ้น... เสียแต่รสขมจับจิตเสียจริง   ด้วยมันคือ ควินนินน้ำ... นับว่าเป็นคราวแรกที่ยาฝรั่งเข้ามาในเมืองเรา   เวลานั้นผู้ที่มีความรู้ในทางยาไทยอย่างสำคัญของบางกอก   ก็มีกรมขุนวงษาธิราชสนิท   ( ต้นตระกูลสนิทวงศ์พระองค์หนึ่ง)   เมื่อท่านได้เห็นยาปลัดเล   สรรพคุณชงัดก็เลยเข้าตีสนิทศึกษาเล่าเรียนเอาความรู้   พระองค์ท่านเป็นผู้แสวงวิชาโดยแท้   ผิดกับหมอไทยอื่น ๆ ..” 

เมื่อได้ทรงเล็งเห็นสรรพคุณยาควินินว่ามีประโยชน์เพียงใดแล้ว   ได้ทรงนำมาประยุกต์ทดลองเป็นตำรายาแก้โรคไข้จับสั่น   ดังปรากฎในตำรายาของพระองค์ที่กล่าวถึงประโยชน์ของยาควินินตอนหนึ่งว่า   “... ผู้ใดเป็นโรคไข้จับสั่นก็ให้ถ่ายด้วยดีเกลือไทยก็ได้   ดีเกลือเทศก็ได้   เอายาที่ให้อาเจียนตามที่ชอบใจ   กินใส่ปนดีเกลือสักหน่อยหนึ่ง   ก็ให้อาเจียนออกมาสามหนสี่หน   ถ่ายให้ลงห้าหกหน   ให้อดของแสดง   มีเนื้อสัตว์   น้ำมัน   ข้าวเหนียว   กะปิ   สุรา   เป็นต้น   ให้รักษาดังนี้   สักสองสามวันก่อน   ภายหลังให้กินยาเทศชื่อควินนิน   เอาควินินหนักหุนหนึ่ง   แบ่งเป็นหกส่วน   เมื่อไข้ส่างออกแล้วให้กินส่วนหนึ่งและในสองชั่วโมงกินทีหนึ่งจนถึงเวลากลางคืน   เมื่อตื่นขึ้นแต่เช้ากินเหมือนเก่าอีก   ควินินนี้เดี๋ยวนี้มีขายที่ตึกหันแตรประมาณห้าสิบขวด   เขาว่าถ้าผู้ใดซื้อทั้งหมดจะขายเป็นขวดละสิบเหรียญ   ควินินในขวดเดียว   หนัก 2 บาท   แบ่งรับประทานได้ 480 ครั้ง   พอรักษาคนไข้ให้หายขาดได้ประมาณ 40 คน ดังนี้ราคาไม่ถูกมากแล้วหรือ ” 
กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงเล่าไว้ตอนหนึ่งว่า   “... เมื่อฉันบวชเป็นสามเณรเคยได้ยินกรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์   ตรัสว่า   ยาเม็ดแก้ไข้ของกรมหลวงวงศาฯ   ที่นับถือกันนั้นเมื่อผ่าออกดูมี   “ ยาขาวฝรั่ง ”  ( ควินิน) อยู่ข้างในทุกเม็ด... ”

กรมหลวงวงษาธิราชสนิท   ทรงเคยมีประสบการณ์เข้าร่วมในการเจรจาสนธิสัญญาตั้งแต่ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว   รัชกาลที่ เมื่อครั้งเจรจากับเซอร์   เจมส์   บรุ๊ค   (Sir James Brooke)  เมื่อปีพ.. 2393  และทรงมีความคุ้นเคยกับชาวตะวันตกซึ่งทำให้พระองค์ทรงมีความรู้ความเข้าใจกับเหตุการณ์การเมืองในต่างประเทศเวลานั้นเป็นอย่างดี   ประกอบกับในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นพระอนุชาที่มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยมากที่สุดพระองค์หนึ่ง   และที่สำคัญทรงเป็นที่เคารพยกย่องในหมู่ขุนนาง   จึงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการฝ่ายไทยเข้าร่วมเจรจาพร้อมด้วยขุนนางตระกูลบุนนาคอีก 4 คน   ประกอบด้วย   สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ   บุนนาค)   สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ   ( ทัต   บุนนาค)   เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์   ( ช่วง   บุนนาค)   และเจ้าพระยาทิพากรวงศ์   ( ขำ   บุนนาค)   เป็นผู้แทนฝ่ายไทยในการเจรจาทำสนธิสัญญากับอังกฤษในปี พ.. 2398  สนธิสัญญาทางไมตรีและพาณิชย์   ระหว่างจักรพรรดินีอังกฤษ และกษัตริย์แห่งสยาม   (Treaty of friendship and Commerce between Her Majesty and The King of Siam )  เมื่อ 18 เมษายน พ.. 2398 ( .. 1855) ในรัชสมัยสมเด็จ พระราชินีนาถวิกตอเรีย และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือที่เราเรียกกันว่า     สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง (Bowring Treaty)  หลังจากนั้นได้มีประเทศต่าง ๆ เดินทางมาทำสัญญาในลักษณะเดียวกันอีกหลายประเทศ   เช่น   สหรัฐอเมริกา     ฝรั่งเศส   เดนมาร์ก   โปรตุเกส   ฮอลลันดา   เยอรมัน     สวีเดน   นอร์เวย์   และเบลเยี่ยม   โดยกรมหลวงวงษาธิราชสนิท   ทรงดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการต่อเนื่องตลอดรัชกาล 
เซอร์ จอห์น เบาว์ริ่ง   ได้บันทึกถึงกรมหลวงวงษาธิราชสนิท   ในฐานะประธานกรรมการฝ่ายไทยไว้ตอนหนึ่งว่า   “ พระเจ้าแผ่นดินทรงแต่งตั้งพระอนุชา คือ   พระเจ้าน้องยาเธอ   กรมหลวงวงษาธิราชสนิท   ให้ดำรงตำแหน่งประธานของคณะกรรมการชุดนี้   และพระองค์   ( พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ไม่อาจจะผู้ใดได้เหมาะสมยิ่งไปกว่านี้แล้ว เนื่องจากเจ้านายพระองค์นี้ ( กรมหลวงวงษาธิราชสนิท)   ทรงติดต่อกับชาวต่างประเทศอย่างมาก   และทรงเป็นที่รู้จักกันดีทั้งในหมู่ชาวต่างประเทสและชาวสยาม... ”     “ พระเจ้าน้องยาเธอ   พระองค์นี้ทรงมีชื่อเสียงในด้านความซื่อสัตย์และวิจารญาณที่ดี ”

 

บุคคลสำคัญคนที่ 2 สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์

               สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง  บุนนาค เป็นบุตรชายคนใหญ่ของสมเด็จเจ้าพระยามหาประยูรวงศ์ (ดิศ กับท่านผู้หญิงจันทร์  เกิดเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม  พ.. ๒๓๕๑  ในวัยเด็กได้รับการศึกษาจากวัด  เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นในสมัยรัชกาลที่ ๒ บิดาซึ่งขณะนั้นเป็นพระยาพระคลัง  นำไปถวายตัวเป็นมหาดเล็ก และทำงานด้านพระคลังและกรมท่าอยู่กับบิดา  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓  รับราชการมีความชอบมาก  ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์มาตามลำดับ  จนเป็นหมื่นไวยวรนาถ  ใน พ.. ๒๓๘๔  และเป็นพระยาศรีสุริยวงศ์ในตอนปลายรัชกาล  ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๔  ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์  ว่าที่สมุหกลาโหมเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้ฝักใฝ่สนใจศึกษาศิลปวิทยาของตะวันตก จึงจัดเป็นพวกหัวใหม่คนหนึ่งของสมัยนั้น  ท่านกับบิดาของท่านได้คอยช่วยเหลือสนับสนุนพวกมิชชันนารีที่เข้ามาสมัยรัชกาลที่ ๓  เพื่อให้เผยแพร่วิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ออกไป  เมื่อเซอร์จอห์นเบาว์ริง เข้า มาทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับไทยในสมัยรัชกาลที่ ๔ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ทรงเป็น ๑ ใน ๕ ที่รัชกาลที่ ๔ ทรงแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาข้อสัญญากับเซอร์จอห์น เบาว์ริง  ทำการทำสนธิสัญญาสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี  และต่อมาท่านได้เป็นผู้แทนฝ่ายไทยในการทำสนธิสัญญาลักษณะเดียวกันกับนานาประเทศในตอนปลายรัชกาลที่ ๔  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งเป็นวังหน้าหรือพระมหาอุปราชสวรรคต รัชกาลที่ ๔ ไม่ได้ทรงตั้งผู้หนึ่งผู้ใดขึ้นแทน ครั้นเมื่อรัชกาลที่ ๔ สวรรคตใน พ.. ๒๔๑๑  ที่ประชุมเสนาบดีและพระบรมวงศานุวงศ์จึงได้อัญเชิญเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขึ้นเสวยราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเชิญเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน  โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ 

นอกจากนี้ยังเชิญกรมหมื่นบวรวิชัยชาญ  พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวงสถานมงคล แม้จะมีผู้คัดค้านว่าการตั้งผู้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล  ควรให้เป็นพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  แต่เสียงส่วนใหญ่ก็เห็นว่าควงจะตั้งไปเลย  ทั้งนี้อาจเพราะเกรงใจเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์  ซึ่งสนับสนุนกรมหมื่นบวรวิชัยชาญ นับเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ที่พระมหากษัตริย์ขึ้นเสวยราชย์ขณะพระชนมพรรษาเพียง ๑๕ พรรษา  และมีผู้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเป็นผู้ใช้อำนาจแทน จึงมีผู้หวั่นเกรงว่าอาจมีการชิงราชสมบัติดังเช่นที่พระยากลาโหมกระทำในสมัยอยุธยา  แต่เหตุการณ์เช่นนั้นก็มิได้เกิดขึ้น 

เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์  ได้บริหารราชการมาด้วยความเรียบร้อย  พร้อมกันนั้นก็ได้จัดให้รัชกาลที่ ๕  ทรงได้รับการฝึกหัดการเป็นพระมหากษัตริย์ตามโบราณราชประเพณี  และให้ทรงเรียนรู้ศิลปวิทยาการสมัยใหม่ควบคู่ไปด้วย  นอกจากนั้นยังจัดให้เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวาใน พ.. ๒๔๓๑  อินเดียและพม่าใน พ.. ๒๔๑๕  เพื่อทอดพระเนตรแบบแผนการปกครอง ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเจริญของประเทศที่อยู่ในความปกครองของตะวันตก  ซึ่งรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงนำแบบอย่างที่เหมาะสมมาปรับปรุงประเทศให้เจริญก้าวหน้า

ในเวลาต่อมาเมื่อรัชกาลที่ ๕  ทรงบรรลุนิติภาวะใน พ.. ๒๔๑๖  ได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ ๒  ซึ่งแสดงว่าจะทรงว่าราชการบ้านเมืองเอง  ในพระราชพิธีครั้งนี้โปรดเกล้า ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ แม้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จะพ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชกาลแผ่นดินแล้ว  แต่ก็คงทำหน้าที่ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินต่อมา  จนถึงแก่พิราลัยใน พ.. ๒๔๒๕  รวมอายุได้ ๗๔  ปี

 

บุคคลสำคัญคนที่ 3 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

                สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  เป็นพระโอรสในรัชกาลที่ ๔  กับเจ้าจอมมารดาชุ่ม  มีพระนามเดิมว่า  พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร  ประสูติเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.. ๒๔๐๕  ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นในพระบรมหมาราชวัง  ในสมัยรัชกาลที่ ๕  ได้รับการสถาปนาเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ  แล้วเลื่อนเป็นกรมหลวง  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖  ได้เลื่อนขึ้นเป็นกรมพระยา  และเมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๗  ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ   สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาบ้านเมือง โดยเฉพาะการปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๕  ทรงปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วนความวิริยะอุตสาหะ  มีความรอบรู้  มีความซื่อสัตย์  และจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์  

ผลงานสำคัญมี 3 ด้าน

การศึกษา

ใน พ.. ๒๔๒๓  ทรงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก จึงเกี่ยวข้องกับการศึกษามาตั้งแต่นั้น  เนื่องจากมีการตั้งโรงเรียนทหารมหาดเล็กขึ้นในกรมทหารมหาดเล็ก ต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงเรียนพลเรือน  จนถึง พ.. ๒๔๓๓  ทรงเป็นอธิบดีกรมศึกษาธิการและกำกับกรมธรรมการ  จึง ปรับปรุงงานด้านการศึกษาให้ทันสมัย เช่น กำหนดจุดมุ่งหมายทางการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ คือ ฝึกคนเพื่อเข้ารับราชการ กำหนดหลักสูตร เวลาเรียนให้เป็นแบบสากล  ทรงนิพนธ์แบบเรียนเร็วขึ้นใช้เพื่อสอนให้อ่านได้ภายใน ๓ เดือน  มีการตรวจคัดเลือกหนังสือเรียน  กำหนดแนวปฏิบัติราชการในกรมธรรมการ  และริเริ่มขยายการศึกษาออกไปสู่ราษฎรสามัญชน  เป็นต้น 

การปกครอง

ทรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยคนแรกเป็นเวลานานถึง ๒๓ ปี ติดต่อกันตั้งแต่  พ.. ๒๔๓๕ – ๒๔๕๘  ทรงมีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานระบบการบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคในแนวใหม่  โดยยกเลิกการปกครองที่เรียกว่า  ระบบกินเมือง   ซึ่งให้อำนาจเจ้าเมืองมาก มาเป็นการรวมเมืองใกล้เคียงกันตั้งเป็นมณฑล  และส่งข้าหลวงเทศาภิบาลไปปกครองและจ่ายเงินเดือนให้พอเลี้ยงชีพ  ระบบนี้เป็นระบบการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง  นอกจากนี้มีการตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นในกระทรวงมหาดไทย  เพื่อทำหน้าที่ดูแลทุกข์สุขราษฎร  เช่น  กรมตำรวจ  กรมป่าไม้  กรมพยาบาล  เป็นต้น  ตลอด เวลาที่ทรงดูแลงานมหาดไทย ทรงให้ความสำคัญแก่การตรวจราชการเป็นอย่างมาก เพราะ ต้องการเห็นสภาพเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎร ดูการทำงานของข้าราชการ และเป็นขวัญกำลังใจแก่ข้าราชการหัวเมืองด้วย 

งานพระนิพนธ์

ทรงนิพนธ์งานด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปวัฒนธรรมไว้เป็นจำนวนมาก  ทรงใช้วิธีสมัยใหม่ในการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์และโบราณคดี  จนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย    สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเมื่อ พ.. ๒๔๕๘  ในสมัยรัชกาลที่ ๖  เนื่องจากมีปัญหาด้านสุขภาพ แต่ต่อมาเสด็จกลับเข้ารับราชการอีกครั้ง    ในตำแหน่งเสนาบดีมุรธาธร   และเมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๗  ทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรี งานสำคัญอื่นๆ ที่ทรงวางรากฐานไว้  ได้แก่  หอสมุดสำหรับพระนคร  และงานด้านพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.. ๒๔๘๖  ทรงเป็นต้นราชสกุล ดิศกุล  ใน พ.. ๒๕๐๕  ยูเนสโกประกาศยกย่องพระองค์ให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก นับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเกียรติจากสถาบันแห่งนี้ 

 

บุคคลสำคัญคนที่ 4 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ

               สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าวัญอุไทยวงศ์  ประสูติเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.. ๒๔๐๑  เป็นพระเจ้าลูกยาเธอองค์ที่สองในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และเจ้าจอมมารดาเปี่ยม เมื่อมีพระชันษา ๑๗ ปี  ทรงเข้ารับราชการทำหน้าที่ตรวจบัญชีคลังร่วมกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนเรศร์วรฤทธิ์  ในสมัยนั้นการเก็บภาษีอากรของแผ่นดินยังไม่เป็นระเบียบ ผลประโยชน์ของแผ่นดินรั่วไหลมาก  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินด้วยการตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์  อันเป็นต้นกำเนิดของกระทรวงการคลังขึ้น  มีการตั้งสำนักงานออดิต ออฟฟิศ  แล้วโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์เป็นหัวหน้าพนักงาน  ซึ่งทรงปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดี  ทรงพระปรีชารอบรู้ทั้งภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  และวิชาเลข  ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  จึงโปรดเกล้าฯ  ให้ไปรับราชการช่วยเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร  บุนนาค ราชเลขฝ่ายต่างประเทศ  หลังจากนั้นทรงดำรงตำแหน่งเป็นราชเลขาธิการ  และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  สถาปนาให้ทรงกรม  เป็นกรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ

เมื่อ  พ.. ๒๔๒๔  กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ  ทรงริเริ่มให้มีการตั้งทูตไทยประจำราชสำนักต่างประเทศ เพื่อความสะดวกในการเจรจากับกงสุลต่างประเทศ  และทรงดำริที่จะทำสัญญากับอังกฤษจัดตั้งศาลต่างประเทศขึ้นที่เชียงใหม่ อันเป็นการเริ่มนำคนในบังคับต่างประเทศมาไว้ในอำนาจศาลไทย

ใน พ.. ๒๔๒๔  ตำแหน่งเสนาบดีกรมท่าว่างลง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  แต่งตั้งกรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการเป็นเสนาบดีกรม  ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  เลื่อนเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมชั้นผู้ใหญ่เป็นกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ  ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ  ทรงพยายามที่จะหาทางรักษาไมตรีระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ  ให้ดำเนินไปด้วยดี  กรณีวิกฤตการณ์ ร.. ๑๑๒  มีการปะทะกันระหว่างเรือของฝรั่งเศสกับไทย  พระองค์ทรงช่วยผ่อนคลายสถานการณ์อันตึงเครียดถึงแม้ว่าจะต้องสูญเสียดินแดนไปบ้าง แต่ก็ยังคงรักษาเอกราชของไทยไว้ได้ นสมัยรัชกาลที่ ๖ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีสืบมา และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว   ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระอิสริยยศเป็นกรมพระเทวะวงศ์วโรปการ

เมื่อ พ.. ๒๔๕๙  ทรงเป็นมหาอำมาตย์ยศเทียบเท่ากับจอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.. ๒๔๖๖  พระชันษา ๖๕ ปี  ทรงเป็นต้นราชสกุล  เทวกุล

 

 บุคคลสำคัญคนที่ 5  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

               สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์   เป็นเจ้าฟ้าผู้ทรงพระปรีชาสามารถในวิชาการหลายแขนง ทรงเป็นปราชญ์ทางอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ดนตรี และงานช่าง  พระองค์มีพระนามเดิมว่า  พระองค์เจ้าจิตรเจริญ  เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับหม่อมเจ้าหญิงพรรณราย  ประสูติที่ตำหนักในพระบรมมหาราชวัง  เมื่อวันที่  ๒๘ เมษายน พ.. ๒๔๐๖  ทรงได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนคะเด็ตทหาร  จากนั้นผนวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร  หลังจากนั้นทรงศึกษาวิชาการต่าง ๆ  และราชประเพณี

พระองค์เจ้าจิตรเจริญทรงผนวชเป็นพระภิกษุใน พ.. ๒๔๒๗  ครั้นลาผนวชแล้ว  ทรงรัชราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงมีพระสติปัญญารอบรู้  เป็นที่วางพระราชหฤทัยจนได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระอิสริยยศเป็น  พระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ทรงรับราชการในตำแหน่งสำคัญ  อยู่หลายหน่วยงานเพื่อวางรากฐานในการบริหารราชการให้มั่นคง ทั้งกระทรวงโยธาธิการ  กระทรวงพระคลัง  และกระทรวงวัง

ใน พ.. 2452  ทรงกราบบังคมลาออกจากราชการ เนื่องจากประชวร    ด้วยโรคพระหทัยโต  ทรงปลูกตำหนักอยู่ที่คลองเตย และเรียกตำหนักนี้ว่า  บ้านปลายเนิน ครั้นเมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระอิสริยยศเป็น  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์  และโปรดเกล้าฯ  ให้ทรงกลับเข้ารับราชการอีกครั้งหนึ่ง  จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  จึงทรงพ้นจากตำแหน่ง

ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้เลื่อนกรมขึ้นเป็น  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์   ในบั้นปลายพระชนม์ทรงประทับที่บ้านปลายเนินจนสิ้นพระชนม์ลงเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.. ๒๔๙๐  พระชันษา ๘๓ ปี  ทรงเป็นต้นราชสกุล  จิตรพงศ์

สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศนุวัดติวงศ์  ทรงมีพระปรีชาสามารถในงานช่างหลายแขนง ได้ทรงงานออกแบบไว้เป็นจำนวนมาก  ทั้งงานภาพเขียนในวรรณคดี ภาพประดับผนังพระราชลัญจกรและตราสัญลักษณ์ ต่าง ๆ  ตาลปัตร  ตลอดจนสถาปัตยกรรม  ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลาย เช่น พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม  พระอุโบสถวัดราชาธิวาส  พระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ ฯลฯ  ด้วยพระปรีชาสามารถทางด้านงานช่างนี้เอง  ทำให้ทรงได้รับพระสมัญญานามว่า  นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม 

นอกจากนี้ยังทรงพระปรีชาสามารทางด้านดนตรี  ทรงพระนิพนธ์เพลงเขมรไทรโยค เพลงตับนิทราชาคริต เพลงตับจูล่ง ฯลฯ  ส่วนด้านวรรณกรรมทรงมีลายพระหัตถ์โต้ตอบกับสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นเอกสารที่มีคุณค่าด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรมประเพณีและอักษรศาสตร์ ที่รู้จักกันทั่วไปในนาม  สาส์นสมเด็จ ความที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ทรงพระปรีชาสามารถในวิชาการหลายแขนงจึงมิได้เป็นบุคคลสำคัญของชาติไทยเท่านั้น  หากแต่ทรงเป็นบุคคลที่ชาวโลกพึงรู้จัก โดยใน พ.. ๒๕๐๖  อันเป็นวาระครบรอบร้อยปีแห่งวันประสูติ ยูเนสโกได้ประกาศให้พระองค์เป็นบุคคลสำคัญของโลกพระองค์หนึ่ง

 

 

บุคคลสำคัญคนที่ 6 ขรัวอินโข่ง

               ขรัวอินโข่ง  เป็นชื่อเรียกพระอาจารย์อิน  ซึ่งเป็นจิตรกรในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ขรัวอินโข่งเป็นชาวบางจาน จังหวัดเพชรบุรี  บวชอยู่จนตลอดชีวิตที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ กรุงเทพฯ  การที่ท่านบวชมานานจึงเรียกว่า ขรัวส่วนคำว่า โข่ง นั้นเกิดจากท่านบวชเป็นเณรอยู่นานจนใคร ๆ  พากันเรียกว่า  อินโข่ง  ซึ่งคำว่า โข่ง หรือโค่ง หมายถึง ใหญ่หรือโตเกินวัยนั่นเอง

           ขรัวอินโข่ง  เป็น ช่างเขียนไทยคนแรกที่มีความรู้ในการเขียนภาพทั้งแบบไทยที่นิยมเขียนกันมาแต่ โบราณ และทั้งแบบตะวันตกด้วย นับเป็นจิตรกรคนแรกของไทยที่มีพัฒนาการเขียนรูปจิตรกรรมฝาผนังโดยการนำทฤษฎี การเขียนภาพแบบสามมิติแบบตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ในงานจิตรกรรมของไทยในยุคนั้น ภาพต่าง ๆ  ที่ขรัวอินโข่งเขียนจึงมีแสง  เงา  มีความลึกและเหมือนจริง 

  ผลงานของขรัวอินโข่งเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาก เคยโปรดเกล้าฯ  ให้เขียนรูปต่างๆ  ตามแนวตะวันตกไว้ที่พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นภาพเขียนแรก ๆ  ของขรัวอินโข่ง  นอกจากนั้นมีภาพเหมือนพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาที่หอพระราชกรมานุสรณ์

          ภาพของขรัวอินโข่งเท่าที่มีปรากฏหลักฐานและมีการกล่าวอ้างถึง อาทิ ภาพเขียนชาดก เรื่องพระยาช้างเผือก  ที่ผนังพระอุโบสถ  และภาพสุภาษิตที่บานแผละ  หน้าต่างพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ภาพพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ในหอพระราชพงศานุสรณ์ในพระบรมมหาราชวัง ภาพปริศนาธรรมที่ผนังพระอุโบสถวัดบรมนิวาส  ภาพพระบรมรูปรัชกาลที่ ๔ ฯลฯ     

  การเขียนภาพแบบตะวันตกที่ใช้แสงและเงาสร้างเป็นภาพ 3 มิติ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง

          ภาพเขียนจากฝีมือขรัวอินโข่งเหล่านี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว  โดดเด่น แปลกตา ใช้สีเข้มและสีอ่อน แตกต่างจากงานจิตรกรรมที่เคยเขียนกันมาในยุคนั้น  ทำให้เกิดรูปแบบใหม่ของงานจิตรกรรมในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เรียกกันว่า จิตรกรรมสกุลช่างขรัวอินโข่ง ที่เป็นต้นกำเนิดของงานจิตรกรรมไทยในยุคต่อ ๆ  มา

 

บุคคลสำคัญคนที่ 7 พระประดิษฐ์ไพเราะ  (มี  ดุริยางกูร) 

               พระประดิษฐ์ไพเราะ  เป็นครูดนตรีไทยคนสำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์  สันนิษฐานว่าเกิดตอนปลายสมัยรัชกาลที่ ๑  คนทั่วไปมักเรียกท่านว่า  ครูมีแขก  สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ทรงสืบประวัติไว้ว่า  ครูปี่พาทย์ชื่อครูมีแขกนั้น  คือเป็นเชื้อแขก  ชื่อมี  ครูมีแขกเป็นผู้เชี่ยวชาญคนตรีไทยเกือบทุกประเภท  ทั้งยังแต่งเพลงด้วย เพลงที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ทยอยนอก ทยอยใน 3 ชั้น

ในสมัยรัชกาลที่ เจ้านายหลายพระองค์รวบรวมคนหัดปี่พาทย์ขึ้นเล่นประชันวงกัน  ครูมี ได้เป็นครูปี่พาทย์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระประดิษฐ์ไพเราะ  ตำแหน่งปลัดจางวางมหาดเล็กได้ว่ากรมปี่พาทย์ฝ่ายพระบรมมหาราชวัง ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เป็นครูมโหรีของกรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร นอกจากมีความสามารถในการเป่าปี่แล้ว  ครูมีแขกยังชำนาญในการสีซอสามสาย  โดยได้แต่งเพลงเดี่ยวเชิดนอกทางซอสามสายไว้ด้วย

ครูมีแขกถึงแก่กรรมในสมัยรัชกาลที่ ๕  ประมาณระหว่าง พ.. ๒๔๑๗ – ๒๔๒๑   ทิ้งไว้เพียงชื่อเสียง คุณงามความดี และคุณูปการอันมากล้นสำหรับวงดนตรีไทย

 

บุคคลสำคัญคนที่ 8 ดร.แดน บีช แบรดเลย์(Dr.Dan Beach Bradley)   

               ดร.แดน บีช แบรดเลย์  ชาวไทยเรียกกันว่า  หมอบรัดเลย์  หรือ  ปลัดเล  เป็นชาวนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา  เกิดเมื่อ  พ.. ๒๓๔๕  หมดบรัดเลย์เดินทางเข้ามายังสยาม เมื่อ พ.. ๒๓๗๘   โดยพักอาศัยอยู่กับมิชชันนารี ชื่อ จอห์นสัน ที่วัดเกาะ  เมื่อเข้ามาอยู่เมืองไทย  ในตอนแรกหมอบรัดเลย์เปิดโอสถศาลาขึ้นที่ข้างใต้วัดเกาะ  รับรักษาโรคให้แก่ชาวบ้านแถวนั้น  พร้อมทั้งสอนศาสนาคริสต์ให้แก่ชาวจีนที่อยู่ในเมืองไทย  ส่วนซาราห์ ภรรยาของหมอเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ

ต่อมาหมอบรัดเลย์ย้ายไปอยู่แถวโบสถ์วัดซางตาครูส  ขยายกิจการจากรับรักษาโรคเป็นโรงพิมพ์  โดยรับพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับศาสนาคริสต์แจก  และพิมพ์ประกาศของทางราชการ  เรื่องห้ามนำฝิ่นเข้ามาในประเทศสยาม  เป็นฉบับแรก  จำนวน ๙,๐๐๐ แผ่น   เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.. ๒๓๘๒  อีกด้วย   กิจการโรงพิมพ์นี้นับเป็นประโยชน์สำหรับคนไทยมาก  เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญซึ่งคนรุ่นหลังได้ศึกษาส่วนหนึ่งก็มาจากโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์  นอกจากนี้ท่านได้ออกหนังสือพิมพ์รายปีฉบับหนึ่ง ชื่อว่า  บางกอกคาเลนเดอร์ (Bangkok Calender)  ต่อมาได้ออกหนังสือพิมพ์รายปักษ์อีกฉบับหนึ่ง เมื่อ พ.. ๒๓๘๗ ชื่อว่า  บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder)  นอกจากหนังสือพิมพ์แล้วยังได้พิมพ์หนังสือเล่มจำหน่ายอีกด้วย เช่น ไคเภ็ก  ไซ่ฮั่น  สามก๊ก  เลียดก๊ก  ห้องสิน ฯลฯ  หนังสือของหมอบรัดเลย์นั้น  เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ขุนนางและราชสำนัก  โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ที่ลงบทความแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง

  นอกจากงานด้าน โรงพิมพ์ที่หมอบรัดเลย์เข้ามาบุกเบิกและพัฒนาให้วงการสิ่งพิมพ์ไทยแล้ว งานด้านการแพทย์และด้านสาธารณสุขที่ท่านทำไว้ก็มิได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน  หมอบรัดเลย์นับว่าเป็นหมอฝรั่งคนแรกที่ได้นำเอาหลักวิชาแพทย์สมัยใหม่เข้ามาเผยแพร่ในเมืองไทย  มีการผ่าตัดและช่วยรักษาโรคต่างๆ  โดยใช้ยาแผนใหม่  ซึ่งช่วยให้คนไข้หายป่วยอย่างรวดเร็ว  ที่สำคัญที่สุด คือ การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ

ด้วยคุณงามความดีที่หมอบรัดเลย์มีต่อแผ่นดินไทย  พระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พวก มิชชันนารีและหมอบรัดเลย์เช่าที่หลังป้อมวิไชยประสิทธิ์อยู่จนถึงรัชสมัยพระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าจนกระทั่งหมอบรัดเลย์ถึงแก่กรรม เมื่อ พ.. ๒๔๑๖  รวมอายุได้ ๗๑ ปี

 

บุคคลสำคัญคนที่  9 พระกัลยาณไมตรี  (ดร.ฟรานซิส บี แซร์)(Dr. Francis Bowes Sayre)

               พระยากัลยาณไมตรี  เกิดเมื่อ พ.. ๒๔๒๘   ที่มลรัฐเพนซิลวาเนีย  สหรัฐอเมริกา  สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  และได้เป็นศาสตราจารย์วิชากฎหมายของมหาวิทยาลัยแห่งนี้  ก่อนที่จะเข้ามารับราชการในประเทศไทยในตำแหน่งที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่ พ.. ๒๔๖๖ ถึง พ.. ๒๔๖๘

ดร.แซร์  มีบทบาทสำคัญในการปลดเปลื้องข้องผูกพันตามสนธิสัญญาเบาว์ริงที่ไทยทำไว้กับประเทศอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ ๔  และสนธิสัญญาลักษณะเดียวกันที่ไทยทำไว้กับประเทศอื่น ๆ  ซึ่งฝ่ายไทยเสียเปรียบมากในเรื่องที่คนในบังคับต่างชาติไม่ต้องขึ้นศาลไทย  และไทยจะเก็บภาษีจากต่างประเทศเกินร้อยละ ๓ ไม่ได้  ประเทศไทยพยายามหาทางแก้ไขสนธิสัญญาเสียเปรียบนี้มาโดยตลอด  ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ มาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๖  ปรากฏว่ามีเพียง ๒ ประเทศที่ยอมแก้ไขให้โดยยังมีข้อแม้บางประการ  ได้แก่  สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่ยอมแก้ไขใน พ.. ๒๔๓๖  และญี่ปุ่นยอมแก้ไขใน พ.. ๒๔๖๖

เมื่อ ดร.แซร์  เข้ามาประเทศไทยแล้ว  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนประเทศไทยไปเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญากับประเทศในยุโรป  ดร.แซร์  เริ่มออกเดินทางไปปฏิบัติงานใน พ.. ๒๔๖๗  การเจรจาเป็นไปอย่างยากลำบาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจรจากับอังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งต่างก็พยายามรักษาผลประโยชน์ของตนเต็มที่  แต่เนื่องจาก ดร.แซร์  เป็นผู้มีวิริยอุตสาหะ  มีความสามารถทางการทูต  และมีความตั้งใจดีต่อประเทศไทย  ประกอบกับสถานภาพส่วนตัวของ ดร.แซร์  ที่เป็นบุตรเขยของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา  จึงทำให้การเจรจาประสพความสำเร็จ  ประเทศในยุโรปที่ทำสนธิสัญญากับไทย ได้แก่  ประเทศอังกฤษ  ฝรั่งเศส  เนเธอร์แลนด์ สเปน โปรตุเกส เดนมาร์ก สวีเดน อิตาลี และเบลเยี่ยม  ยินยอมแก้สนธิสัญญาให้เป็นแบบเดียวกับที่สหรัฐอเมริกายอมแก้ให้

ดร.แซร์  ถวายบังคมลาออกจากหน้าที่กลับไปสหรัฐอเมริกาใน พ.. ๒๔๘๖  แต่ก็ยังยินดีที่จะช่วยเหลือประเทศไทย ดังเช่นใน พ.. ๒๔๖๙  หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน  ดร.แซร์ได้ถวายคำแนะนำเกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมือง และแนวทางแก้ปัญหาต่าง ๆ  ตามที่ทรงถามไป  และยังได้ร่างรัฐธรรมนูญถวายให้ทรงพิจารณาด้วย

จากคุณงามความดีที่ ดร.แซร์  มีต่อประเทศไทย  จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยากัลยาณไมตรี เมื่อ พ.. ๒๔๗๐ และต่อมาใน พ.. ๒๕๑๑  รัฐบาลไทยได้ตั้งชื่อถนนข้างกระทรวงต่างประเทศ (วังสราญรมย์ ว่าถนนกัลยาณไมตรีพระยากัลยาณไมตรีถึงแก่อนิจกรรมที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.. ๒๕๑๕  อายุได้ ๘๗  ปี

 

บุคคลสำคัญคนที่ 10 ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี

          ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี หรือ ชื่อเดิม Corrado Feroci ชาวอิตาลีสัญชาติไทย เป็นปูชนียบุคคลคนหนึ่งของไทย ได้สร้างคุณูปการในทางศิลปะจนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง

เป็นผู้ก่อตั้ง และครูสอนศิลปะใน มหาวิทยาลัยศิลปากร จนเป็นที่รักใคร่และนับถือทั้งในหมู่ศิษย์และอาจารย์ และได้รับการยกย่องเป็นปูชนียบุคคลของมหาวิทยาลัยแห่งนี้

 

มีผลงานที่โดดเด่นหลายอย่างในประเทศไทย ได้แก่ พระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สวนลุมพินี ,    อนุสาวรีย์     ท้าวสุรนารี และการออกแบบพระพุทธรูปปางลีลา ประธานพุทธมณฑล 

ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.. 2435 ในเขตซานโจวันนี ( San Giovanni) เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี   อายุ 23 ปี สามารถสอบผ่านเป็นศาสตราจารย์ จากราชวิทยาลัยศิลปแห่งนครฟลอเรนซ์ ( The Royal Academy of Art of Florence) หลังจบระดับมัธยมจึงเข้าศึกษาทางด้านศิลปะในโรงเรียนราชวิทยาลัยศิลปะ แห่งนครฟลอเรนซ์ จบหลักสูตรวิชาช่าง 7 ปีในขณะที่มีอายุ 23 ปี และได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นช่างเขียน ซึ่งต่อมาได้สอบคัดเลือกรับปริญญาบัตรเป็นศาสตราจารย์มีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์วิจารณ์ศิลป์และปรัชญาโดยเฉพาะมีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรม
ปี พ
.. 2466 ท่านได้ชนะการประกวดการออกแบบเหรียญเงินตราสยามที่จัดขึ้นในยุโรป ด้วยเหตุนี้จึงเดินสู่แผ่นดินสยามเพื่อเข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นประจำกรมศิลปากร ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ 14 มกราคม พ.. 2466 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนวิชาช่างปั้นหล่อ แผนกศิลปากร สถานแห่งราชบัณฑิตสภา ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 .. 2485 ประเทศอิตาลียอมพ่ายแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร ชาวอิตาเลียน ในประเทศไทยตกเป็นเชลยของ ประเทศเยอรมนี กับ ญี่ปุ่น แต่รัฐบาลไทยขอควบคุมตัวท่านศาสตราจารย์ คอร์ราโด เฟโรจี ไว้เอง และ หลวงวิจิตรวาทการ ได้ดำเนินการทำเรื่องราวขอโอนสัญชาติจากอิตาเลียนมาเป็นสัญชาติไทย โดยเปลี่ยนชื่อของท่านให้มาเป็น "นาย ศิลป์ พีระศรี " เพื่อคุ้มครองท่านไว้ ไม่ต้องไปถูกเกณฑ์เป็นเชลยศึกให้สร้าง ทางรถไฟสายมรณะ และ สะพานข้ามแม่น้ำแคว เมืองกาญจนบุรี 
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้เริ่มวางหลักสูตรวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมขึ้นในระยะเริ่มแรกชื่อ " โรงเรียนประณีตศิลปกรรม" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น"โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง" และในปีพ.. 2485 กรมศิลปากรได้แยกจากกระทรวงศึกษาธิการไปขึ้นอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในขณะนั้นโดย ฯพณฯจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีตระหนักถึงความสำคัญของศิลปะว่าเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งสาขาหนึ่งของชาติ จึงได้มีคำสั่งให้ อธิบดีกรมศิลปากร ในขณะนั้นคือ พระยาอนุมานราชธน ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร และ ตรา พระราชบัญญัติ ยกฐานะโรงเรียนศิลปากรขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร มีคณะจิตรกรรมประติมากรรม เป็นคณะวิชาเดียวของมหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดสอนเพียง 2 สาขาวิชาคือ สาขา จิตรกรรม และสาขา ประติมากรรม โดยมี ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีเป็นผู้อำนวยการสอนและดำรงตำแหน่งคณบดี คนแรก

  ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้ออกแบบปั้นและควบคุมการหล่อพระราชนุสาวรีย์ และอนุสาวรีย์สำคัญของประเทศไทย โดยการ ปั้นต้นแบบสำหรับพระปฐมบรมราชานุสรณ์ ตั้งแต่ปี พ.. 2472 - 2477 อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี พ.. 2484 พระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนลุมพินี และการออกแบบพระพุทธรูปปางลีลา ประธานพุทธมณฑล 
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.. 2505 รวมสิริอายุได้ 69 ปี 7 เดือน 29 วัน